การอ่านแบบ SCANNING
คืออะไร?
หลายคนคงจะเคยได้ยินถึงเทคนิควิธีการอ่านแบบนี้กันมาบ้างแล้ว
ส่วนใหญ่เทคนิคการอ่านแบบนี้จะใช้ในรายวิชาภาษาอังกฤษ
ซึ่งจริงๆแล้วผู้เขียนคิดว่าสามารถใช้ได้หลากหลายบริบทของการอ่าน
เนื่องจากวิธีการสอนอ่านที่เรานำมาใช้นั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการอ่าน
แต่ละครั้งว่าผู้อ่านต้องการอ่านอะไร
มีการวางเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน
ถ้าถามว่าวิธีนี้เป็นเทคนิคการอ่านใช่หรือไม่? หลายคนก็คงตอบว่า ใช่
แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกเทคนิคการอ่านนั้นให้เหมาะสมได้อย่างไรกับการอ่านแต่ละครั้ง
นี่ก็เป็นอีกคำถามหนึ่งว่า
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรกัน ว่าตอนนี้ต้องอ่านด้วยวิธีนี้ แล้วต้องเปลี่ยนเมื่อไร
คำตอบก็มีอยู่ว่าเราศึกษาเรื่องที่จะอ่านมากน้อยแค่ไหน
ถ้าต้องการตอบคำถามเฉพาะเรื่องที่เราอ่านนั้น
ขอเสนอแนะให้ตั้งคำถามในใจก่อนอ่านกันเลยก็แล้วกัน ด้วย wh
– word
What
where when why who ก็คงเป็นตัวช่วยทำให้เราอ่านเรื่องนั้นแล้วได้คำตอบเร็วขึ้น
ทำให้เราไม่หลงทางในการอ่าน แต่ยังคงมีเป้าหมายเดิมขณะที่อ่าน
ทำไมต้องอ่านแบบ
SCANNING ?
การอ่านแบบนี้ทำให้เราไปถึงจุดหมายปลายทางที่แน่นอน
และรวดเร็วเพราะเป็นการอ่านเพื่อหาคำตอบ หาข้อมูลเฉพาะ ไม่ไขว้เขวในขณะที่อ่าน
เป็นการอ่านเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือเรียกง่ายๆว่า การตอบคำถามแบบเฉพาะ
ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้อ่านในแต่ละครั้ง
ไม่ต้องอ่านตั้งแต่ต้นจบจบทุกบรรทัด
เมื่อได้ข้อมูลที่ตนต้องการแล้ว ก็เปลี่ยนไปหาข้อมูลที่ตนต้องการต่อเป็นลำดับต่อมา
ถึงแม้ว่าในช่วงแรกของการอ่านดูเหมือนจะยาก
แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าเราได้ฝึกจนชำนาญเราก็จะเก่งในด้านการเลือกวิธีอ่าน อาทิ
ขณะที่เราขับรถผ่านป้ายโฆษณามากมายแทนที่เราจะต้องอ่านทุกตัวอักษร
ก็ไม่จำเป็นเลยที่เราต้องเสียเวลาอ่านให้ครบแต่ถ้าป้ายโฆษณาใดที่ดึงดูดใจ
แล้วเราต้องการข้อมูลนั้นๆ เราก็สามารถเลือกใช้วิธีนี้ได้ เช่นหาหมายเลขโทรศัพท์
ที่อยู่ ข้อมูลจำเพาะเจาะจง รายละเอียดที่เราต้องการเท่านั้น
ส่วนคำโฆษณาที่เราเห็นนั้นก็เป็นส่วนที่สร้างความสนใจเท่านั้นเอง
วิธีนี้เหมาะกับการอ่านป้ายประกาศ โฆษณาต่างๆ เป้นอย่างดี
เนื่องจากทำให้เราทราบข้อมูลได้ทันท่วงที หรือขณะที่เราอ่านหนังสือเรื่องใดก็ตาม
ต้องทราบรายละเอียด เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เป็นต้น
เราก็สามารถใช้วิธีนี้ในการค้นหาได้ง่ายและรวดเร็ว
ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการอ่านเป็นทุนเดิม เพียงแค่หาเทคนิคในการอ่านมาเสริมเข้าไปเพื่อให้เกิดการอ่านที่ง่ายต่อความรู้ความเข้าใจ
และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสร้างทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน
และเสริมสร้างศักยภาพทางด้านการอ่านในระดับสูงต่อไป
แหล่งที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น